บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สมาธิในพระไตรปิฎกฯ ๓

ต้องขออนุญาตท่านผู้อ่าน อธิบายถึงความผิดพลาดของพระพม่าต่ออีกสักบทความหนึ่ง

พระพม่าไม่รู้เข้าใจผิดมาจากไหน  ทางพระพม่าเองคงรู้ว่า ความเชื่อของพวกท่านมาจากไหน แต่ผมอ่านแล้ว ผมยังไม่พบว่า ทำไมพระพม่าเข้าใจผิดไปอย่างนั้น

พระพม่าอ่านวิสุทธิมรรคไม่แตก คือ ไม่เข้าใจ  อ่านพระอภิธรรมก็ไม่เข้าใจ  พระพม่าเชื่อว่า “วิปัสสนา” ทำให้ไปนิพพานได้

ให้สังเกตดูว่า พระพม่าไม่เคยเอ่ยถึงวิชา 3 กับ บารมี 30 ทัศน์อย่างที่พระในประเทศไทยเข้าใจกัน  ส่วนใหญ่แล้วจะไม่กล่าวถึงเลย

ผมขอยืนยันว่า พระพม่าเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 อย่างมาก จนถึงมากที่สุด จึงขอยกข้อความในสติปัฏฐานสูตรในส่วนนั้น มาให้อ่านดังนี้

 [151] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 ปี เขาพึงหวังผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

7 ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ ตลอด 6 ปี 5 ปี 4 ปี 3 ปี 2 ปี 1 ปี ... 1 ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 เดือน เขาพึงหวังผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

7 เดือน ยกไว้ผู้ใดผู้หนึ่ง  พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ ตลอด 6 เดือน 5 เดือน 4 เดือน 3 เดือน 2 เดือน  1 เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง สติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 วัน เขาพึงหวังผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

สิ่งที่พระพม่ามองข้ามไปอีกสิ่งหนึ่งก็คือ คำขยายที่ว่า นี้ อย่างนี้ที่ผมเน้นด้วยการทำตัวหนาและขีดเส้นใต้ไว้ 

การที่จะบรรลุพระอรหันต์ หรือไม่ก็บรรลุพระอนาคามี ถ้าขันธปัจกยังเหลืออยู่นั้น  นอกจากจะต้องผ่านวิชา 3 แล้ว ยังจะต้องปฏิบัติตามวิธีการตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอยู่ในวันนั้น เพราะ คำขยาย นี้ อย่างนี้เป็นตัวชี้ให้เห็นชัดๆ

คำขยายสั้นๆ นี้สำคัญมาก เพราะถ้าเราไม่รู้ก็จะไม่สามารถปฏิบัติตามได้เลย และจริงๆ ก็ไม่ใครรู้ว่า คำว่า นี้ อย่างนี้ที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงนั้น หมายความว่าอย่างไร

พระพม่าก็เลยมองข้ามไปเลย ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่ถึงให้ความสนใจ พระพม่าก็ยังคงจะรู้ได้ยากว่า พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น หมายความว่าอย่างไร และทำอย่างไร

นอกจากนั้นแล้ว เป็นความผิดพลาดของพระมหาสีสะยาดอว์อย่างใหญ่หลวง เพราะ ตอนที่คิดวิธีปฏิบัติธรรมแบบพอง-ยุบขึ้นมา พระมหาสีสะยาดอว์ไม่ได้กล่าวอ้างหรือยืนยันเลยว่า ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในมหาสติปัฏฐานสูตร

อย่างไรก็ดี ผมขอยืนยันว่า วิธีปฏิบัติธรรมที่พระพม่าปฏิบัติอยู่ คือ ดูอาการเคลื่อนไหวของท้องพองยุบ กำหนดจิตให้เป็นปัจจุบันนั้น ไม่ใช่ พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ในความหมายของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน

หลักฐานมีดังนี้ เมื่อพระมหาสีสะยาดอว์คิดค้นวิธีปฏิบัติธรรมแบบพอง-ยุบขึ้นมาได้ แรกๆ ก็ถูกโจมตีจากพระพม่าด้วยกันว่า ไม่ใช่วิธีปฏิบัติแบบพุทธ แต่ก็ดันทุรังสอนกันมา

พอคลื่นลมสงบ พระพม่า ก็จับวิธีปฏิบัติธรรมแบบนี้ยัดเข้าไปว่าเป็นมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วก็แปลงกายสติปัฏฐาน 4 ว่าเป็นวิปัสสนาเข้าไปอีก เลยไปกันใหญ่

ผู้ที่เข้ามาจัดประเภทของการปฏิบัติธรรมว่า อย่างไหนเป็นสมถะกรรมฐาน อย่างไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐานนั้น คือ พระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เขียนหนังสือวิสุทธิมรรค เมื่อประมาณ พ.ศ. 1000 ในพระไตรปิฎกไม่มีการจัดแบบนี้

พระพุทธโฆษาจารย์ ท่านเองยังไม่จัดมหาสติปัฏฐานสูตรว่า เป็นวิปัสสนาเลย พระพม่าจะมาจับยัดเข้าไปได้อย่างไร ท่านก็ตีความมั่วของท่านไป

หลักฐานอีกประการหนึ่งก็คือ หลักฐานจากทางภาษาศาสตร์ คือ สติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นเพียง อนุปัสนาซึ่งแปลว่า ตามเห็นเท่านั้น ก็พิจารณาจากศัพท์

กายานุปัสนาสติปัฏฐาน คือ กาย + อนุปัสนา + สติ + ปัฏฐาน
เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน คือ เวทนา + อนุปัสนา + สติ + ปัฏฐาน
จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน คือ จิต + อนุปัสนา + สติ + ปัฏฐาน
ธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน คือ ธรรม + อนุปัสนา + สติ + ปัฏฐาน

จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาจากศัพท์ อนุปัสนา แปลว่า ตามเห็น ไม่ใช่เป็น วิปัสสนา ซึ่งแปลว่า เห็นแจ้ง

เมื่อสายยุบพองรวมถึงสายนามรูปด้วย  เข้ามาในเมืองไทย ความเข้าใจผิดดังกล่าวก็เข้ามาด้วย และด้วยความอ่อนด้อยในด้านปัญญาของพุทธวิชาการชาวไทย จึงมีคนเข้าใจผิดตามพระพม่าเยอะมาก

นอกจากเข้าใจผิดแล้ว กลุ่มพวกนี้ ก็ชอบทำกรรมหนัก คือ ชอบโจมตีสายอื่นๆ ด้วยว่า ไม่เป็นวิปัสสนา ของตนเป็นวิปัสสนาสายเดียว

นี่จึงเป็นที่มาของการโจมตีสายปฏิบัติธรรมสายอื่นๆ ที่โดนจากสายสายยุบพอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น