บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สมาธิในพระไตรปิฎกฯ ๔

กลับมาการวิพากษ์วิจารณ์ข้อความที่ว่า ขั้นปฏิบัติภาวนาของวัดพระธรรมกายนี่เป็นเพียงขั้นสมถะกรรมฐานยังไม่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน”  ในงานวิจัยเรื่องสมาธิในพระไตรปิฎกวิวัฒนาการการตีคำสอน เรื่อง สมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศ คณะผู้วิจัยก็คือ วริยา ชินวรรโณและคณะเสียที

ข้อความดังกล่าวนี้ “ไม่ถูกต้อง

หลักฐานก็มาจากเนื้อหาของ งานวิจัยเรื่องสมาธิในพระไตรปิฎกวิวัฒนาการการตีคำสอน เรื่อง สมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศ เอง

ในบทที่ 3 คณะผู้วิจัยได้อ้างอิงหนังสือของคุณภุมรา ตาละลักษณ์ เรื่อง “รวมพระธรรมเทศนา วิเคราะห์การเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิชาธรรมกาย

หนังสือของคุณภุมรา ตาละลักษณ์ เล่มดังกล่าว บรรยายว่า ในการพิจารณาตั้งแต่กายมนุษย์หยาบ-กายอรูปพรหมละเอียดเป็นสมถกรรมฐาน

ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูหยาบ-กายธรรมพระอรหัตละเอียดเป็นวิปัสสนา ดังนั้น วิชาธรรมกายก็ต้องมีทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

ในงานวิจัยชิ้นเดียวกัน มีความข้อความขัดกันอย่างนี้ คือ ข้อความที่ยกมาจากคุณยงยุทธ์ก็ว่าไปอย่างหนึ่ง  ข้อความที่ยกมาจากคุณภุมรา ตาละลักษณ์ก็ว่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งความหมายขัดกันอย่างชัดเจน

งานวิจัยนี้ ก็ต้องมีที่ผิดแน่ๆ ไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 3
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 3 คือ ข้อความนี้

การปฏิบัติเป็นการเพ่งกสิณ

ข้อความนี้ก็ผิดอีก ต้องอธิบายคำว่า การเพ่งกสิณก่อน

การเพ่งกสิณ นี่เป็นการทำสมาธิที่เอาจิตไว้นอกตัว เป็นมิจฉาทิฐิไม่ใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา เช่น จะใช้กสิณไฟ ก็จุดเทียนขึ้นมา แล้วเพ่งไปที่เทียน

สมถะกรรมฐาน 40 วิธีนั้น เป็นของมาตั้งแต่ก่อนตั้งพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ารับเข้ามาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในเกณฑ์ของศาสนาพุทธ

เขาเล่าว่า คนที่เก่งๆ สามารถทำให้เปลวเทียนสูงขึ้นมา แล้วก็หดลงไป ถ้าเก่งมากๆ ก็สามารถทำให้เทียนระเบิดได้เลย ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง

ถ้าจะใช้กสิณแสงสว่าง ก็เจาะฝาให้เป็นวงกลม ให้แสงลอดเข้ามา แล้วก็เพ่งที่แสงสว่างนั้น นี่ การเพ่งกสิณเข้าทำกันแบบนี้

สำหรับสายวิชาธรรมกายนั้น ใช้สมถะกรรมฐาน 3 วิธีพร้อมกันคือ

1) อาโลกกสิณ หรือ กสิณแสงสว่าง ก็คือ นึกให้เห็นดวงนิมิตเป็นดวงแก้วขาวใส

2) อานาปานสติ  สายวิชาธรรมกายเป็นอานาปานสติดังนี้ เวลาเราหายใจเข้าไปนั้น ลมจะไปหยุดอยู่ที่ในท้องเราที่ระดับเหนือสะดือ 2 นิ้วมือของใครของมัน หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงกำหนดให้จุดนี้เป็นฐานที่ 7

การเอาใจไปหยุดที่ฐานที่ 7 เป็นอานาปานสติ คือ การกำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา  การปฏิบัติธรรมแบบวิชาธรรมกายจึงเป็นอานาปานสติด้วย

ตอนนี้สายพุทโธจำนวนมาก ก็ย้ายการจุดสังเกตลมหายใจจากจมูกลงไปอยู่ที่เหนือสะดือ 2 นิ้วมือนี้มากขึ้น

3) พุทธานุสสติ การกำหนดให้ผู้ปฏิบัติท่องคำว่า สัมมาอะระหังนั้น เป็นพุทธานุสสติ

โดยสรุป สายวิชาธรรมกายไม่ใช่การเพ่งกสิณอย่างแน่นอน เพราะ วิธีการผิดกันดังฟ้ากับเหว

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 4

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 4 คือ ข้อความนี้

โดยผู้ปฏิบัตินึกว่า มีดวงแก้วหรือพระพุทธรูปอยู่ตรงกลางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อความที่ควรวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ “อยู่ตรงกลางกาย” ซึ่งจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ 2 ประเด็นคือ

1) วิชาธรรมกายของแท้นั้น ต้องนึกนิมิตก่อนเป็นประการแรก แต่นิมิตนั้นจะเป็นอะไรมันก็อีกเรื่องหนึ่ง

โดยทั่วไปก็ให้นึกนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสหรือพระพุทธรูปขาวใส  ในการนึกนิมิตนั้น ไม่ใช่ให้ไปอยู่ในท้องเลย ต้องนำเข้าตามฐานของใจ 7 ฐาน คือ

ภาพ

สำหรับดวงนิมิตนั้น ถ้าเป็นผู้มีจิตใจแข็งกระด้างกว่าปกติ เช่น ผู้ต้องโทษจำคุก เป็นต้น ก็ให้นึกนิมิตเป็นภาพอสุภะก็ได้ แล้วก็เอาเข้าจมูกเหมือนกัน ปฏิบัติเหมือนการนึกนิมิตเป็นดวงแก้วเช่นเดียวกัน

2) คำที่ว่า “กลางกาย” ที่ถูกคือ ศูนย์กลางกาย เหนือฐานที่ 6 สองนิ้วมือของใครของมัน ถ้าอธิบายไม่ละเอียด ผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีโอกาสเห็นดวงธรรมเลย

ในส่วนของบทความนี้ ผมได้โต้แย้งไปว่า วิชาธรรมกายไม่ใช่เป็นสมถกรรมฐานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นวิปัสสนากรรมฐานด้วย 

วิชาธรรมกายไม่ใช่เป็นการเพ่งกสิณแบบนอกศาสนา และการปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกายต้องนำนิมิตเข้าไปตามฐานของใจ จำนวน 7 ฐาน



1 ความคิดเห็น: