บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สมาธิในพระไตรปิฎกฯ ๗

ข้อบกพร่องในส่วนที่ 2


ข้อบกพร่องในส่วนที่ 2 ข้อบกพร่องร้ายแรงที่สุดๆ ของงานวิจัยนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาธรรมกายคือ ข้อความส่วนนี้ครับ

เนื้อหาในบทที่ 6 ที่ชื่อบทว่า การตีความเรื่องสมาธิสายธรรมกายในหน้า 326-328 ซึ่งคณะผู้วิจัยสรุปคำสอนของพระสุธรรมยานเถระ/พระธัมชโย นำมาอ้างอิง ไว้ดังนี้

เมื่อใจและกายผ่อนคลายดีแล้ว ก็กำหนดนึกถึงบริกรรมนิมิตดวงแก้วที่กลม ใส สะอาด บริสุทธิ์ ให้ปรากฏลอยอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ขณะที่นึกภาพดวงแก้ว หากยังไม่ปรากฏ ซึ่งเป็นเพราะใจกำลังเริ่มจะสงบ ก็ให้ท่องบริกรรมภาวนาในใจว่า สัมมาอะระหัง ไปเรื่อยๆ

โดยให้เสียงนี้ดังออกมาจากศูนย์กลางกายดังกล่าว จนกว่าจะปรากฏนึกภาพดวงแก้วได้ ก็ให้หยุดบริกรรมภาวนา

เมื่อปรากฏนิมิตเป็นดวงแก้วใสเกิดขึ้นแล้ว ให้หยุดบริกรรมภาวนาเหลือแต่การกำหนดสติเพ่งอยู่กลางดวงนิมิตอย่างเดียว...

ทำใจให้หยุดสงบเข้าไปตรงกลางดวงนิมิตเรื่อยไป ดวงนิมิตก็จะสดใสยิ่งขึ้น จนสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือเล็กลงได้ตามปรารถนา ดวงนิมิต คือ ดวงปฐมมรรค (ดวงธรรม)

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 1

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 1 คือ ข้อความนี้

เมื่อใจและกายผ่อนคลายดีแล้ว ก็กำหนดนึกถึงบริกรรมนิมิตดวงแก้วที่กลม ใส สะอาด บริสุทธิ์ ให้ปรากฏลอยอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7

ในการเริ่มปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกายนั้น การนึกเอาดวงนิมิตไปไว้ในฐานที่ 7 เลย เป็นการผิดวิธีเป็นอย่างยิ่ง ต้องนึกไปตามฐานตั้งแต่ฐานที่ 1 - ฐานที่ 7

หลายๆ คนเถียงว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำเคยสอนไว้ว่าทำได้

อันนี้จริง แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำ หมายถึง พวกที่ปฏิบัติจนชำนาญแล้ว ไม่ใช่พวกที่เริ่มต้นนั่ง หรือนั่งมาหลายสิบปีแล้วก็ไม่เห็น ก็ทำผิดวิธีแล้วมันจะเห็นได้อย่างไร

ถ้าคณะผู้วิจัยสรุปเนื้อหาหนังสือมาถูก คือ พระสุธรรมยานเถระ/พระธัมมชโยเขียนอย่างนี้จริงๆ ก็แสดงว่า พระสุธรรมยานเถระ/พระธัมมชโยก็ไม่เข้าใจวิชาธรรมกายเหมือนกัน 

ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมพระมหาสมศักดิ์ จันทสีโล จึงไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับวิชาธรรมกาย ก็เจ้าอาวาสยังรู้ไปผิดๆ สำมะหาอะไรกับพระลูกวัด

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 2

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 2 คือ ข้อความนี้

โดยให้เสียงนี้ดังออกมาจากศูนย์กลางกายดังกล่าว จนกว่า จะปรากฏนึกภาพดวงแก้วได้ ก็ให้หยุดบริกรรมภาวนา

ในการบริกรรมภาวนานั้น ไม่มีตำรามาตรฐานของวิชาธรรมกายเล่มใด ให้เสียงดังออกมาจากศูนย์กลางกาย

วิธีการที่ถูกต้องก็คือ ผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องท่องไป นึกไป คือ แบ่งใจท่องไปด้วย นึกไปด้วย ก็จะทำให้ใจเป็นเอกัคตารมณ์เร็วขึ้น ก็จะเห็นดวงปฐมมรรคเร็วขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงเสียงแต่อย่างใด

ก็ท่องในใจ มันจะมีเสียงออกมาอย่างไร

พระสุธรรมยานเถระ/พระธัมมชโยท่านก็สอนมั่วไป ดูๆ แล้วจะไม่แตกต่างจากหนังสือของคุณยงยุทธ์เท่าไหร่

ข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของพระสุธรรมยานเถระ/พระธัมมชโยก็คือ ท่านไม่รู้จักวิชาชั้นสูง เพราะ แค่วิชาพื้นฐานท่านยังสอนไม่ถูก และปฏิบัติไม่ได้ วิชาธรรมกายไม่มีการ หยุดคำภาวนามีแต่เปลี่ยน

วิชาธรรมกายของแท้และดั้งเดิมจะต้อง สั่งวิชาตลอดเวลา ไม่งั้นวิชาจะสดุด ทำต่อไม่ได้ทันที

ดังนั้น ในวิชาธรรมกายไม่เคยมีการหยุดท่อง มีแต่เปลี่ยนคำท่องไป

พอเรานึกนิมิตเป็นดวงแก้วใสได้แล้ว ไม่ใช่ให้ผู้ปฏิบัติหยุดคำท่อง แต่ยังคงท่องต่อไปจนกระทั่งเกิดดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 3

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 3 คือ ข้อความนี้

เมื่อปรากฏนิมิตเป็นดวงแก้วใสเกิดขึ้นแล้ว ให้หยุดบริกรรมภาวนาเหลือแต่การกำหนดสติเพ่งอยู่กลางดวงนิมิตอย่างเดียว

ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า เมื่อนึกดวงนิมิตแก้วใสได้แล้ว ไม่ใช่หยุดภาวนาสัมมาอะระหัง แต่ต้องภาวนาต่อ จนกว่าจะเกิดดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

การที่พระสุธรรมยานเถระ/พระธัมมชโยให้หยุดภาวนา เหลือแต่กำหนดสติเพ่งอยู่กลางดวงนิมิตอย่างเดียว เป็นการสอนที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง ผู้ปฏิบัติธรรมก็จะไม่รู้จะเพ่งอยู่ตรงไหน

ในการสอนที่เป็นของจริงของแท้นั้น ดวงแก้วกลมใสจะมีจุดศูนย์กลางเล็กเท่าปลายเข็มอยู่ ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถทำได้ก็ให้ส่งใจไปที่จุดเล็กใสกลางดวงเลย แต่ต้องท่องสัมมาอะระหังไปด้วย

โดยปกติแล้ว ตอนที่นึกถึงดวงนิมิตได้นั้น ใจของผู้ปฏิบัติจะยังไม่นิ่งพอ ส่วนใหญ่จึงจะนึกถึงจุดเล็กใสกลางดวงนิมิตไม่ได้ ผู้สอนควรจะให้ผู้ปฏิบัติส่งใจไปที่ดวงนิมิต ท่องไปเรื่อยจนกว่าจะเห็นดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 4

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 4 คือ ข้อความนี้

ทำใจให้หยุดสงบเข้าไปตรงกลางดวงนิมิตเรื่อยไป ดวงนิมิตก็จะสดใสยิ่งขึ้น

ข้อความที่ว่า ดวงนิมิตก็จะสดใสยิ่งขึ้นนั้น ไม่เชิงถูกต้องนัก เพราะ ถ้าใจยิ่งนิ่งไปมากเข้า ดวงนิมิตจะสว่างใสยิ่งขึ้น ไม่ใช่สดใส

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 5

ข้อผิดพลาดประเด็นที่ 5 คือ ข้อความนี้

จนสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือเล็กลงได้ตามปรารถนา

ตรงนี้ถ้าถามว่า ผู้ที่เห็นดวงนิมิตจะทำได้ไหม  ตอบว่า ทำได้

แต่ผู้สอนไม่ควรให้ผู้ปฏิบัติธรรม มัวไปนั่งนึกขยายให้ดวงใหญ่ขึ้น และทำให้หดเล็กลงมา เพราะ มันเสียเวลาการปฏิบัติ ควรจะให้ท่องคำภาวนาต่อไป จนกระทั่งเห็นดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ให้เปลี่ยนคำท่อง จากสัมมาอะระหังเป็นหยุดในหยุด

ต่อไปก็ให้สมมุติว่า ใจของผู้ปฏิบัติธรรมเป็นเข็มเย็บ แล้วก็ส่งเข็มใจไปกลางดวงใส ท่องใจหยุดในหยุด นึกให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส

เมื่อเห็นจุดเล็กใสแล้ว ก็ส่งใจเข้าไปที่จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจหยุดในหยุด แล้วก็นึกให้จุดเล็กใสว่างออกไป ก็จะพบกายใหม่หรือดวงใหม่ แล้วแต่จะกำหนดหลักสูตรไหนให้ผู้ปฏิบัติเรียน

ถ้าเป็นการสอนของพวกผม ซึ่งเป็นคณะลูกศิษย์ของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช ในการสอนเบื้องต้น ก็จะสอนให้ผู้ปฏิบัตินึกให้จุดเล็กใสว่างออกไป ก็จะเกิดกายธรรมพระโสดา หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น